Now Reading
เทคนิคในการถอดคอนแทคเลนส์ที่ติดแน่นจนเกินไป!!

เทคนิคในการถอดคอนแทคเลนส์ที่ติดแน่นจนเกินไป!!

คนที่ใส่คอนแทคเลนส์ส่วนใหญ่มักประสบกับปัญหาถอดคอนแทคเลนส์ออกยากมาแล้วทั้งนั้น ปัญหานี้เป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ใส่มันนานตลอดทั้งวัน ทำให้คอนแทคเลนส์แห้งจากการใช้งานเป็นเวลาหลายชั่วโมง หรืออาจเป็นเพราะคอนแทคเลนส์เลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม ไม่ว่าคุณจะใส่คอนแทคเลนส์บ่อยหรือนานแค่ไหน แต่วิธีการต่อไปนี้จะช่วยให้คุณสามารถเอาคอนแทคเลนส์แสนดื้อออกจากดวงตาของคุณได้อย่างปลอดภัย

1. การถอดคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม

1.1 ล้างมือก่อน

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-1-Version-3

มือของคุณควรสะอาดอยู่เสมอไม่ว่าจะใส่หรือถอดคอนแทคเลนส์ เพราะมือของคุณจะเต็มไปด้วยแบคทีเรียมากมายจากสิ่งที่คุณสัมผัสมาตลอดวัน ให้คุณล้างมือด้วยสบู่และน้ำอุ่นก่อนที่จะสัมผัสกับดวงตาของคุณเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

– สำหรับคอนแทคเลนส์ที่ติดตา การล้างมือยิ่งมีความสำคัญมาก เพราะคอนแทคเลนส์ต้องสัมผัสกับดวงตาเป็นเวลานาน ยิ่งเวลาใช้นิ้วมือสัมผัสกับดวงตามากขึ้น โอกาสที่จะแพร่เชื้อโรคก็จะยิ่งมีมากขึ้นตามมาด้วย

– อย่าทำให้มือหรือนิ้วที่จะต้องสัมผัสกับดวงตาแห้งนะ ไม่อย่างนั้นอาจมีใยผ้าขุนหนูหรือสำลีเข้าตาของคุณได้

1.2 ใจเย็นๆ

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-2-Version-3

อาการตกใจหรือกังวลจนเกินเหตุอาจทำให้การเอาคอนแทคเลนส์ออกนั้นยากขึ้นไปอีก หากคุณรู้สึกกังวลให้ใช้เวลาสักเล็กน้อยเพื่อหายใจลึกๆ ก่อนลงมือทำ

– อย่ากังวลไป! คอนแทคเลนส์ของคุณจะไม่เข้าไปติดอยู่หลังลูกตาของคุณหรอก เพราะยังมีเยื่อบุตา และเยื่อเมือกที่ด้านหน้าดวงตาของคุณ และยังมีกล้ามเนื้อรอบดวงตาอีกชั้นหนึ่งที่คอยกันอยู่

– การที่คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มเข้ามาติดในตาของคุณจะยังไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร หากคุณไม่ปล่อยไว้นานเกินไป มันอาจเกิดการระคายเคือง แต่ก็ไม่ได้ทำลายดวงตาของคุณ แต่ถ้าเป็นเลนส์ชนิดแข็งอาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนที่กระจกตาได้ ในกรณีที่เลนส์หัก ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อได้

– หากคุณลองหลายครั้งแล้ว แต่ก็ยังไม่สำเร็จ ให้คุณหยุดสักพักและผ่อนคลายตัวเอง จากนั้นค่อยมาเริ่มใหม่

1.3 หาตำแหน่งของเลนส์

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-3-Version-3

ในหลายๆ กรณีที่คอนแทคเลนส์ติดก็เพราะว่าพวกมันเลื่อนออกจากกระจกตา หากกรณีนี้เกิดขึ้นกับคุณ คุณต้องหาเลนส์ของคุณให้เจอก่อนที่จะเคลื่อนย้ายมัน ให้ปิดตาและผ่อนคลายเปลือกตาของคุณ คุณจะสามารถรู้สึกถึงตำแหน่งของเลนส์ได้ หากหลับตาแล้วคุณยังไม่รู้สึกถึงเลนส์ ให้คุณใช้ปลายนิ้วของคุณจับที่เปลือกเบาๆ และหาตำแหน่งของมันให้เจอ

– หากเลนส์เคลื่อนไปอยู่ที่มุมของดวงตา คุณอาจส่องกระจกเพื่อช่วยในการหาเลนส์ได้

– ลองดูที่ตำแหน่งตรงข้ามของเลนส์ ยกตัวอย่างเช่น หากรู้สึกว่าเลนส์อยู่ที่มุมด้านขวา ให้คุณดูที่ด้านซ้าย แล้วคุณอาจมองเห็นเลนส์ได้

– หากคุณไม่รู้สึกหรือไม่เห็นเลนส์เลย มีความเป็นไปได้ว่าเลนส์อาจหล่นออกจากตาของคุณไปแล้ว

– วางนิ้วของคุณไว้ด้านบนของเปลือกตา (ใกล้กับคิ้วของคุณ) แล้วดึงขึ้นเพื่อให้เปลือกตาเปิดออก วิธีนี้จะช่วยให้คุณเห็นคอนแทคเลนส์ได้ดีขึ้น แต่ควรจำไว้ว่าหากคุณมองลงข้างล่างขณะที่ดึงเปลือกตาขึ้น จะทำให้กล้ามเนื้อรอบเบ้าตาที่ทำหน้าที่ปิดตาไม่เคลื่อนไหว และคุณจะไม่สามารถบีบให้มันปิดได้จนกระทั่งคุณมองขึ้นข้างบนอีกครั้ง

1.4 ทำให้เลนส์เปียก

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-4-Version-3

เลนส์ที่แห้งอาจทำให้ติดแน่นและเอาออกได้ยาก ลองทำให้เลนส์เปียกด้วยการใช้น้ำตาเทียมสัมผัสกับเลนส์โดยตรง รอสัก 2-3 นาทีเพื่อให้เลนส์มีความชุ่มชื้นและอ่อนนุ่มมากขึ้น

– หากเลนส์ติดอยู่ที่ใต้เปลือกตาหรือที่มุมของดวงตา การเพิ่มความชุ่มชื้นอาจช่วยให้เลนส์กลับมาอยู่ในตำแหน่งเดิม ซึ่งจะง่ายต่อการเอาออก

– และบ่อยครั้งที่การทำให้เลนส์เปียกจะช่วยให้คุณเอามันออกได้ด้วยวิธีธรรมดา ลองกระพริบตาบ่อยๆ หรือหลับตาสัก 2-3 นาที จากนั้นค่อยทำการเอาเลนส์ออกมาอีกครั้ง

1.5 นวดเปลือกตา

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-5-Version-3

หากเลนส์ยังติดอยู่หรือเลื่อนไปติดที่ใต้เปลือกตา ให้คุณปิดตาลงและใช้ปลายนิ้วนวดเปลือกตาเบาๆ

– หากเลนส์ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดิมของมัน ให้พยายามผลักเลนส์กลับไปที่กระจกตา

– หากเลนส์ของคุณติดอยู่ใต้เปลือกตา ให้คุณลองมองด้านล่างขณะที่นวดเปลือกตาดูอาจจะช่วยได้

1.6 เปลี่ยนวิธีการจัดการ

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-6-Version-3

หากเลนส์ยังอยู่ที่เดิม แต่ยังคงไม่ยอมหลุดออกมา ให้คุณลองย้ายคอนแทคเลนส์ด้วยวิธีที่แตกต่างจากเดิมดู คนส่วนใหญ่จะบีบเลนส์ของพวกเขาออกมา แต่คุณอาจลองเอามันออกโดยการวางนิ้วลงบนเปลือกตาแต่ละข้าง แล้วค่อยๆ กดลงไปขณะที่คุณกระพริบตา

– คุณอาจใช้ทั้งนิ้วชี้หรือนิ้วกลางกดลงไปตรงๆ บนเปลือกตาด้านบน และใช้นิ้วกดขึ้นตรงๆ ที่เปลือกตาด้านล่าง

– เลนส์จะถูกดึงออกมาจากดวงตาของคุณ และเอาออกได้ง่ายๆ

1.7 ยกเปลือกตาของคุณ

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-7-Version-3

หากเลนส์ยังคงติดอยู่ และคุณคิดว่ามันอาจติดอยู่ใต้เปลือกตา ให้คุณค่อยๆ ยกเปลือกตาขึ้นและถ่างเปลือกตา

– การทำวิธีนี้ให้ใช้ไม้พันสำลีกดลงตรงกลางของเปลือกตาขณะที่ทำการดึงขนตาไปข้างหน้าให้ออกห่างจากดวงตา

– แหงนคอไปด้านหลัง จะทำให้คุณมองเห็นคอนแทคเลนส์ได้ หากเลนส์ติดอยู่ที่ใต้เปลือกตา ค่อยๆ ดึงเลนส์ออกมาจากใต้เปลือกตาอย่างระมัดระวัง

– คุณอาจต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนหรือคนในครอบครัวเพื่อทำวิธีนี้

1.8 ไปพบแพทย์

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-8-Version-2

หากลองทุกวิธีแล้วยังไม่ได้ผล หรือถ้าตาของคุณเริ่มแดง มีรอยข่วน หรือไม่ก็เกิดการระคายเคือง ให้ไปพบแพทย์ เพื่อที่แพทย์จะได้ช่วยเอาเลนส์ออกให้โดยไม่เกิดอันตรายต่อดวงตา

2. การถอดคอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง ที่ก๊าซสามารถซึมผ่านได้

2.1 ล้างมือของคุณ

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-9-Version-2

ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ อย่าใช้มือหรือนิ้วที่แห้งในการสัมผัสกับดวงตาเพื่อไม่ให้มีเศษผ้าหรือสำลีเข้าตา มือของคุณควรจะสะอาดอยู่เสมอไม่ว่าจะใส่หรือถอดคอนแทคเลนส์

– การล้างมือเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะหากคุณต้องสัมผัสกับดวงตาเป็นเวลานาน อย่างเช่น การพยายามถอดเลนส์ที่ติดอยู่ออก

2.2 ใจเย็นๆ

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-10-Version-2

เหมือนกับที่ได้บอกไปในข้อ 1.2 ว่าเลนส์ที่ติดอยู่อาจไม่ใช่กรณีฉุกเฉิน และความวิตกกังวลจะทำให้การหาตำแหน่งเลนส์และเอาเลนส์ออกยากขึ้น และอีกครั้งคอนแทคเลนส์ของคุณไม่สามารถเข้าไปติดติดอยู่หลังลูกตาของคุณได้ ดังนั้นอย่ากังวล!

2.3 หาตำแหน่งของเลนส์

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-11-Version-2

ขั้นตอนนี้ก็เหมือนกับการหาตำแน่งเลนส์ชนิดนิ่มที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นเพราะเลนส์เคลื่อนออกจากกระจกตา จึงทำให้เลนส์ติดและไม่สามารถเอาออกได้ การจะเอาออกได้นั้น คุณจำเป็นต้องหาตำแหน่งของเลนส์ให้เจอก่อน ซึ่งวิธีการนั้นก็เหมือนกับข้อ 1.3 ที่ได้กล่าวไว้แล้วด้านบน

2.4 ทำลายแรงดูดระหว่างเลนส์และลูกตา

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-12-Version-2

หากเลนส์มีเคลื่อนที่ไปยังตาขาวของคุณ คุณสามารถทำให้หลุดออกได้ด้วยการทำลายแรงดูดระหว่างเลนส์และลูกตา โดยใช้ปลายนิ้วของคุณกดเบาๆ ที่ดวงตาที่ด้านนอกของขอบเลนส์

– ห้ามนวดลูกตาเหมือนกับที่ทำกับเลนส์ชนิดนุ่มนะ เพราะอาจทำให้ขอบเลนส์ที่เกาะอยู่บริเวณผิวตาของคุณเคลื่อนได้

2.5 ใช้ยางดูด (Suction Cup)

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-13-Version-2

หากเลนส์ยังคงติดอยู่ คุณอาจซื้อยางดูดเล็กๆ สำหรับดวงตาที่มีขายตามร้านขายยามาเพื่อช่วยในการถอดคอนแทคเลนส์ ตามหลักแล้วจะมีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับดวงตาคอยสอนเทคนิคก่อนการสั่งซื้อเลนส์

– ขั้นแรกให้คุณล้างยางดูดด้วยน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ ทำให้ยางดูดเปียกชุ่มด้วยน้ำเกลือ

– ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้แยกเปลือกตาของคุณออกจากกัน

– นำยางดูดไปไว้ตรงกลางของเลนส์ และดึงมันออกมา ขั้นตอนนี้ควรระวังไม่ให้ยางดูดสัมผัสกับดวงตาของคุณ

– เลนส์จะสามารถออกจากยางดูดได้โดยการเลื่อนเลนส์เบาๆ ไปที่ด้านข้าง

– คุณควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนการเลือกใช้วิธีนี้ การใช้อุปกรณ์ยางดูดเพื่อเอาเลนส์ชนิดแข็งออกมาด้วยตัวเองอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ดวงตาของคุณได้

2.6 หากจำเป็นควรไปพบแพทย์

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-14-Version-2

หากคุณไม่สามารถถอดเลนส์ออกได้ ให้ไปพบจักษุแพทย์ใกล้บ้านเพื่อให้แพทย์เอาเลนส์ออกให้คุณ นอกจากนี้หากดวงตาของคุณเริ่มเป็นสีแดงหรือมีอาการระคายเคือง คุณก็ควรรีบไปพบแพทย์เช่นกัน

3. การใส่คอนแทคเลนส์ที่ดีและถูกสุขลักษณะ

3.1 หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตาของคุณโดยที่ยังไม่ได้ล้างมือ

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-15

มือของคุณเต็มไปด้วยเชื้อโรคที่มาจากการสัมผัสสิ่งต่างๆ ตลอดวัน คุณควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำอุ่นทุกครั้งก่อนสัมผัสดวงตา

– หากคุณใช้มือและนิ้วที่สกปรกสัมผัสดวงตาของคุณ จะทำให้ดวงตาของคุณเกิดการติดเชื้อหรือมีรอยขีดข่วนได้

3.2 รักษาความชุ่มชื้นให้ดวงตาของคุณ

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-16

อาจใช้คอนแทคเลนส์จุ่มลงไปหรือใช้น้ำตาเทียมหยอดลงไปเพื่อรักษาความชื้นให้กับดวงตาตลอดวัน การทำแบบนี้จะช่วยแก้ปัญหาคอนแทคเลนส์ติดได้ด้วย

– หากคุณมีอาการคันหรือมีผื่นแดงหลังจากการใช้ยาหยอดตา ให้พยายามหาผลิตภัณฑ์ที่มีเขียนว่า “ไม่มีสารกันเสีย” หรือ “preservative-free”

3.3 รักษาความสะอาดที่ใส่คอนแทคเลนส์

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-17

See Also

ทำความสะอาดที่ใส่เลนส์ของคุณทุกวัน หลังจากที่คุณนำเลนส์ไปใส่แล้ว ให้ล้างที่ใส่ด้วยน้ำยาล้างแบบปลอดเชื้อหรือน้ำร้อน และสบู่ อย่าปล่อยให้ที่ใส่ของคุณเต็มไปด้วยน้ำก๊อก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย จากนั้นนำไปตากให้แห้ง

– ควรเปลี่ยนที่ใส่คอนแทคเลนส์ทุกๆ สามเดือน แม้ว่าคุณจะทำความความสะอาดที่ใส่ทุกวัน แต่อาจมีแบคทีเรียและสิ่งสกปรกอื่นๆ เข้าไปในที่ใส่เลนส์ของคุณได้

3.4 เปลี่ยนน้ำยาแช่ในที่ใส่คอนแทคเลนส์ทุกวัน

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-18

หลังจากทำความสะอาดที่ใส่และทิ้งไว้จนแห้งแล้ว ให้คุณใส่น้ำยาแช่คอนแทคเลนส์ใหม่เข้าไปในที่ใส่เลนส์ น้ำแช่จะหมดสภาพได้หลังจากเวลาผ่านไป ดังนั้นควรใช้น้ำยาอันใหม่ทุกวัน เพื่อช่วยให้คอนแทคเลนส์ของคุณปลอดเชื้อและสะอาด

3.5 ทำตามคำแนะนำในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคของเลนส์แต่ละชนิด

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-19

เลนส์แต่ละชนิดจะมีวิธีการดูแลที่แตกต่างกันออกไป ควรเลือกใช้น้ำยาล้างให้เหมาะกับชนิดของเลนส์ และทำตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญการดูแลดวงตาเกี่ยวกับการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อเลนส์ของคุณ

3.6 สวมคอนแทคเลนส์ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-20

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญควรเป็นเป็นผู้กำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการคอนแทคเลนส์ในแต่ละวัน คุณควรใช้มันตามคำแนะนำของแพทย์

3.7 เอาเลนส์ของคุณออกก่อนโดนน้ำ

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-21

หากคุณกำลังไปว่ายน้ำ อาบน้ำ หรือแม้แต่แช่น้ำร้อน ให้คุณถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อนเป็นอันดับแรก วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้

3.8 รักษาความชุ่มชื้น

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-22

คอนแทคเลนส์ที่ติดอยู่ในดวงตาของคุณอาจมาจากการที่ตาแห้ง ดังนั้นวิธีหนึ่งที่ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหานี้คือ การดื่มน้ำบ่อยๆ ตลอดทั้งวัน การดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ดวงตาของคุณมีความชุ่มชื้น

– คำแนะนำในการดื่มน้ำสำหรับผู้ชายต่อวันควรดื่มอย่างน้อย 13 แก้ว (3 ลิตร) ส่วนของผู้หญิงต่อวันควรดื่มอย่างน้อย 9 แก้ว (2.2 ลิตร)

– หากคุณเป็นคนตาแห้งเป็นปกติอยู่แล้ว พยายามหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และคาเฟอีน เพราะทั้งสองอย่างนี้จะทำให้ร่างกายขาดความชื้น น้ำเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ แต่ก็ยังมีตัวเลือกที่ดีอื่นๆ เช่น น้ำผลไม้ นม และชาที่ไม่หวานและไม่มีคาเฟอีน (อย่างพวกชาสมุนไพร เป็นต้น)

3.9 ห้ามสูบบุหรี่

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-23

มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า การสูบบุหรี่จะทำให้ดวงตาของคุณยิ่งแห้งมากขึ้น

3.10 รักษาสุขภาพ

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-24

คุณสามารถป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับดวงตาได้โดยการรับประทานอาหารที่ดี ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และลดการใช้งานดวงตาหนักเกินไป

– ผักใบเขียว อย่างเช่นผักขมและคะน้านั้นดีต่อดวงตามาก นอกจากนี้เนื้อแซลมอน ทูน่า และไขมันจากปลาอื่นๆ มีประกอบด้วยโอเมก้า-3 จะช่วยป้องกันปัญหาที่เกิดกับดวงตาได้

– มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าคนที่ออกกำลังกายบ่อยๆ จะมีสุขภาพดวงตาดีกว่าคนที่ไม่ชอบออกกำลังกาย และยังลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงทางดวงตาอย่างโรคต้อหินด้วย

– การนอนหลับไม่เพียงพอ อาจมีผลต่อสายตาของคุณได้ ซึ่งผลข้างเคียงส่วนมากที่พบก็คือ ตาแห้ง หรือไม่ก็อาจมีอาการตากระตุกเกิดขึ้นได้

– พยายามลดการใช้ดวงตาลงหากทำได้ โดยคุณอาจลดแสงสะท้อนจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ จอโทรทัศน์ หรือแม้แต่จอมือถือ และตั้งค่าให้อยู่ในโหมดที่เหมาะสม และพักสายตาจากการทำงานบ่อยๆ

3.11 เข้ารับการตรวจดวงตาอย่างสม่ำเสมอ

Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-25

การพบกับจักษุแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพตาบ่อยๆ สามารถช่วยเรื่องปัญหาดวงตาได้ ซึ่งการตรวจสอบดวงตานั้นสามารถตรวจสอบโรคต้อหินได้ด้วย

– หากคุณมีปัญหาดวงตาอยู่แล้ว หรือคุณมีอายุเข้าเลข 3 คุณควรไปพบแพทย์ทุกปี ส่วนผู้ใหญ่ที่อายุระหว่าง 20-30 ปีก็ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยทุกๆ 2 ปี

3.12 พูดคุยกับแพทย์หากเกิดปัญหากับดวงตา

aid1610042-900px-Remove-Stuck-Contact-Lenses-Step-26

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาคอนแทคเลนส์ติดเอาไม่ออก หรือปัญหาที่ร้ายแรงกว่านี้ คุณก็สามารถไปพบแพทย์เพื่อถามเกี่ยวกับวิธีรักษาหรือป้องกันได้

ปัญหาเกี่ยวกับดวงตาที่หลายคนมองว่าเป็นเรื่องเล็ก แต่ความจริงแล้วเราก็ไม่ควรประมาทเลย เพราะดวงตาเป็นหนึ่งในอวัยวะที่มีความสำคัญกับเรา การดูแลรักษาและใช้งานอย่างถูกวิธีจึงเป็นเรื่องสำคัญและต้องระมัดระวังเป็นพิเศษด้วย

ที่มา: wikihow 

View Comments (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published.

CAPTCHA


Scroll To Top