Now Reading
8 สารปรุงแต่งในอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง…..

8 สารปรุงแต่งในอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง…..

การศึกษาจากวารสารอเมริกันรายงานว่า สารปรุงแต่งที่ใช้ผสมอาหารมีมาตั้งแต่สมัยโบราณแต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่อันตรายต่อร่างกาย จนกระทั่งปี 1800 ที่สารนี้เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เรามาเทียบมาตรฐานสารปรุงแต่งที่เป็นอันตรายในสมัยนั้นกับปัจจุบันกันดีกว่าค่ะ

ในวันนี้ก็เป็นที่คาดกันว่าอาหารแปรรูปที่ทำขึ้นมากกว่า 70% เป็นอาหารอเมริกัน ทั้งจากคุ๊กกี้, แครกเกอร์, ซีเรียล และโยเกิร์ต หลายๆ คนไม่ได้คิดว่าอาหารแปรรูปเป็น “กรรมวิธี” อีกต่อไป แต่พวกเขาจะเรียกว่า “อาหาร” ที่ใช้บริโภคกันทุกวันนั้นเอง

แต่ก็ไม่ใช่อาหารทั้งหมดที่มีวัตถุเจือปนที่ทำขึ้นจากอาหารแปรรูปเท่านั้น และนี่คือ 10 ราการสารปรุงแต่งที่คุณควรหลีกเลี่ยงค่ะ

1. ความหวานสังเคราะห์ (Artificial Sweeteners)

706412155_66ae966d7c_o

ที่มา: davidwolfe

ในอาหารที่มีส่วนผสม “diet” และ “sugar free” อย่าง Diet Coke มีแอสปาร์แตม (Aspartame) ที่เป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล มักถูกนำไปใช้ในอาหารลดน้ำหนัก ไม่ต้องสงสัยค่ะว่าผู้ผลิตอย่างโคคาโคล่าได้วางแผนผลิตภัณฑ้เหล่านี้ให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การรับประทานสารให้ความหวานจะเกิดผลเสียมากกว่าการรับประทานน้ำตาลจริงๆ

2. น้ำเชื่อมข้าวโพดแบบฟรุ๊กโตสสูง (High Fructose Corn Syrup)

Candy_colors

น้ำเชื่อมข้าวโพดแบบฟรุ๊กโตสสูงพบได้ในขนมปัง, ท็อฟฟี่, โยเกิร์ต และน้ำสลัด ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันพบว่าน้ำเชื่อมนี้แตกต่างจากสารให้ความหวานอื่นๆ เพราะจะทำให้คุณไม่อยากหยุดกิน และจำนวนแคลอรี่ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

3. ผงชูรส หรือ มอโนโซเดียม กลูตาเมต (MSG)

ผงชูรสเป็นวัตถุปรุงแต่งอาหารที่ใช้ในน้ำสลัดหลายๆ ยี่ห้อ, มันฝรั่งทอด และอาหารในร้านอาหาร บางคนถึงกับเอ่ยปากว่าเป็นโรคภัตตาคารจีน (Chinese Restaurant Syndrome) คือ อาการป่วยหลังรับประทานอาหารที่ภัตตาคารจีน

แม้ว่าจะยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าการรับประทานผงชูรสทำให้เกิดอาการป่วย แต่คนที่รับประทานอาหารที่มีผงชูรสก็ยังคงบ่นถึงอาการปวดหัว ปวดท้อง และมีอาการรู้สึกถูกเผาไหม้ทั่วร่างกาย ซึ่งปฏิกิริยาที่เกิดจากหลังการรับประทานผงชูรสของแต่ละคนนั้นมากน้อยต่างกัน

4. ไขมันทรานส์ (Trans Fat)

Margarine_BMK

สมาคมหัวใจอเมริกันรายงานว่าไขมันทรานซ์ส่งผลต่อการเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2  ที่ประเทศเดนมาร์กมีข้อห้ามว่าอาหารทุกประเภทห้ามมีไขมันทรานซ์เกิน 2% ไขมันทรานซ์สามารถพบได้ในเนยเทียม, มันฝรั่งทอด และอาหารฟาสต์ฟู้ด

5. สีผสมอาหารบางชนิด (Certain Food Dyes)

1043754674_7ddf99c276_o

สีผสมอาหารพบได้ทั้งในเค้กวันเกิด, คัพเค้ก และคุ๊กกี้ จากการรายงานขององค์การอาหารและยาพบว่า สีผสมอาหารเทียม E133 และ E124 เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

ผลการศึกษาล่าสุดมีสิ่งเชื่อมโยงกับสีผสมอาหารเทียมที่คอยทำลายเซลล์ DNA  นอกจากนี้ E124 ยังถูกพบว่ามีความเป็นได้ที่จะเกิดเนื้องอกขึ้นในสัตว์ องค์การอาหารและยาได้ปฏิเสธความพยายามหลายครั้ง และร้องเรียนให้มีการห้ามใช้สีผสมอาหารเทียม ขณะเดียวกันในสหภาพยุโรปหากอาหารชนิดใดมีสีผสมอาหารจะต้องทำเครื่องหมายรับรองไว้

6. โซเดียมซัลไฟต์ (Sodium Sulfite)

เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์บางชนิดมีประโยชน์มากกว่ามีโทษต่อสุขภาพหากบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ ไวน์ที่มีส่วนประกอบของโซเดียมซัลไฟต์ที่ก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี

โชคดีที่มีไวน์หลายประเภทที่ปราศจากการเพิ่มโซเดียมซัลไฟต์ ซึ่งสิ่งนี้อาจจะทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการดื่มเครื่องดื่มที่ผ่อนคลาย และ ภาวะช็อคจากการแพ้ในกรณีที่มีปฏิกริยาจากการดื่มส่วนผสมนี้อย่างรุนแรง

7. โซเดียมไนไตรท์ (Sodium nitrite)

โซเดียมไนไตรท์ถูกพบว่าเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจที่ทำลายหลอดเลือด และทำให้หลอดเลือดแดงมีแนวโน้มลดลง  โซเดียมไนไตรท์สามารถส่งผลกระทบต่อกระบวนการน้ำตาลกับร่างกายของคุณ นำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน

8. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide)

องค์การอาหารและยาได้ห้ามการใช้งานของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอาหารบางชนิด นอกจากนี้ในผลไม้แห้งมักมีก๊าซซันเฟอร์ไดออกไซด์ที่ทำปฏิกิริยารุนแรงสำหรับผู้ที่เป็นโรคหอบหืด ซัลเฟอร์ไดออกไซด์พบในเครื่องดื่มและในการศึกษาทางการแพทย์ ปฏิกิริยาของมันรุนแรงได้เทียบเท่าการเสียชีวิตเพราะทำให้การหายใจลำบาก และเกิดอาการภูมิแพ้ได้

View Comments (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published.

CAPTCHA


Scroll To Top