Now Reading
ลดน้ำหนักให้สำเร็จมันต้องมีสูตร!!

ลดน้ำหนักให้สำเร็จมันต้องมีสูตร!!

ปกติแล้วเวลาลดน้ำหนักสาวๆ ตั้งเป้าหมายของตัวเองกันเอาไว้เท่าไรคะ? ปกติแล้วการลดน้ำหนักให้ได้ผลควรมีเป้าหมายที่เจาะจง จะทำให้การลดน้ำหนักประสบผลสำเร็จได้ตามเป้าหมาย

มาตรฐานการลดน้ำหนัก กับรูปร่างที่แตกต่างกัน

loseweight1

ใครๆ ต่างก็อยากมีรูปร่างที่สวยเหมือนนางแบบในนิตยสาร และส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมีวิธีในการลดน้ำหนักที่ผิดๆ บ้างก็อดอาหารมากเกินไป จนเกิดผลเสียต่อสุขภาพ และเพื่อให้การลดน้ำหนักของสาวๆ ได้มาตรฐานและมีสุขภาพดี จึงควรคำนวณน้ำหนักให้ได้มาตรฐานพอดีกับส่วนสูง

ค่าน้ำหนักและส่วนสูงที่ได้มาตรฐาน เป็นเลขค่าเฉลี่ยที่บ่งบอกถึงการมีสุขภาพดี

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง  

bmi

หากได้ค่าดัชนีมวลกาย 18.5 หรือน้อยกว่าก็แปลว่าคุณผอมเกินไป แต่ถ้าได้ค่าเฉลี่ยระหว่าง 18.5-25 ก็แปลว่าน้ำหนักตัวได้มาตรฐานแล้ว และถ้าได้ค่าเฉลี่ย 25 หรือมากกว่า นั่นก็หมายถึง อ้วนเกินเกณฑ์มาตรฐานต้องลดน้ำหนักแล้วล่ะ

วิธีคำนวณสัดส่วนต่างๆ ภายในร่างกายให้ได้มาตรฐาน

shape

ลองมาดูค่ามาตรฐานร่างกายในรูปแบบของตัวเลขกัน!

  • น้ำหนักตัวมาตรฐาน = 22 ×ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง
  • เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย: 21-34% อยู่ในค่ามาตรฐาน
  • เปอร์เซ็นต์กล้ามเนื้อ: 37-39% อยู่ในค่ามาตรฐาน

 

นอกจากมีวิธีคำนวณน้ำหนักและส่วนสูงแล้ว ยังมีวิธีคำนวณสัดส่วนต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งขึ้นอยู่กับความสูงด้วย โดยสาวๆ สามารถคำนวณได้ดังนี้ค่ะ

หุ่นดี

  • เนินอกด้านบน: ความสูง (ซม.) x 0.55
  • ใต้หน้าอก: ความสูง (ซม.) x 0.45
  • เอว: ความสูง (ซม.) x 0.4
  • สะโพก: ความสูง (ซม.) x 0.56
  • แขน: ความสูง (ซม.) x 0.16
  • ต้นขา: ความสูง (ซม.) x 0.32
  • น่อง: ความสูง (ซม.) x 0.22
  • ข้อเท้า: ความสูง (ซม.) x 0.13

และสัดส่วนหน้าอก : เอว : สะโพก ที่ได้มาตรฐานก็คือขนาด  1.4 : 1 : 1.4-1.42

See Also

1.4 คือขนาดของหน้าอกที่ได้มาตรฐานซึ่งสะโพกจะมีขนาดใหญ่กว่าเอวเล็กน้อย เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ลองใช้สูตรนี้วัดสัดส่วนของตัวเองกันดูนะ

วิธีการวัดขนาดเอวที่ถูกต้อง

loseweight

การวัดสัดส่วนในร่างกายที่คลาดเคลื่อนจะทำให้ค่าตัวเลขเปลี่ยนไม่ได้สัดส่วนที่แท้จริงของตัวเอง

การวัดขนาดเอวที่ถูกต้องคือให้วัดเหนือสะดือขึ้นไปเล็กน้อย นอกจากนี้การวัดขนาดหน้าอก และสะโพก  ควรวัดในระดับแนวทะแยงมุม เพื่อให้ได้ขนาดที่ถูกต้องที่สุด ส่วนวิธีวัดขนาดน่อง แนะนำให้วัดขนาดของน่องส่วนที่ยื่นออกมามากที่สุด

ถึงแม้ว่าจะอยากผอมกันสักแค่ไหน แต่การดูแลรูปร่างให้ดีได้นั้น ก็ควรที่จะควบคู่ไปกับการมีสุขภาพที่ดีตามมาด้วย: )

View Comments (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published.

CAPTCHA


Scroll To Top