
ภาวะวิตกกังวลเรื้อรัง หรือโรคเครียด เป็นโรคทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับความกังวล ความหงุดหงิด และความตึงเครียด ที่มันเป็นผลไปไกลมากกว่าที่จะมากจากเรื่องงาน ซึ่งเป็นปัญหาที่รุงแรงหากเกิดการสะสมมากเกินไปจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและสุขภาพของพวกคุณได้
weheartit
ภาวะวิตกกังวลที่ทำให้เกิดความกังวลอย่างต่อเนื่อง ความรู้สึกกลัวที่ไม่สามารถไปผ่อนคลายที่ไหนได้ หรือจะเป็นความรู้สึกที่เหมือนถูกครอบงำ ทั้งหมดนี้สามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายได้อย่างไม่ต้องสงสัย
เหล่านี้คือ 8 อาการทางกายภาพที่เป็นสัญญาณเตือนถึงการมาเยือนของภาวะวิตกกังวลเรื้อรัง !
1. ปวดกล้ามเนื้อ
falenpratama.wordpress
หนึ่งในอาการทางกายภาพทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะวิตกกังวลเรื้อรังคือ อาการปวดกล้ามเนื้อ เนื่องจากความเครียดอาจทำให้เกิดการปวดหรือการอักเสบของกล้ามเนื้อได้
2. ปวดศรีษะ
secret-hipster.blogspot
อาการปวดศรีษะเป็นอีกสัญญาณทางกายภาพทั่วไปของภาวะวิตกกังวลเรื้อรัง เนื่องจากความเครียดทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็งตัว ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดศรีษะบ่อยๆ ได้ และหากร่างกายได้รับ คาเฟอีน มากเกินไปก็จะทำให้อาการปวดศรีษะแย่ลงอีกด้วย
3. ความเมื่อยล้า
tumblr
เกิดจากมีความวิตกกังวลมาก ความเครียดที่เกิดจากความวิตกกังวลมันจะไปลดความสามารถของ ต่อมหมวกไต ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลภายในร่างกาย ดังนั้น ความเมื่อยล้าจึงเป็นผลมากจากต่อมหมวกไตอ่อนแอ
4. ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
objecttothis.tumblr
ภาวะวิตกกังวลเรื้อรัง จะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลำไส้ย่อยอาหารได้ไม่ดีและมีอาการลำไส้แปรปรวนได้ เนื่องจากว่าความวิตกกังวลที่เกิดความเครียดทำให้ระดับการทำงานของ Serotonin ลดลง
5. ความอยากน้ำตาล
thepartydress
น้ำตาล จะช่วยไปกระตุ้นฮอร์โมนทำให้มีความสุขหรือหายเครียดได้ เมื่อคนที่อยู่ในภาวะวิตกกังวลเรื้อรัง พวกเขาก็จะมองหาสิ่งที่ทำให้รู้สึกดีเมื่อกำลังตกอยู่ในสภาวะของความเครียดนั่นก็คือ ของหวาน
6. มีปัญหาในการนอน
a-descritora.tumblr
ความทุกข์ทรมานที่มาจากภาวะวิตกกังวลเรื้อรัง เนื่องจากสมองมีเรื่องให้คิดอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะสามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
7. อารมณ์แปรปรวน
chibird
เมื่อสมองเต็มไปด้วยความคิดเชิงลบ หรือมีแต่เรื่องที่น่าหนักใจ เป็นผลทำให้ความอดทนลดลง จึงมีแนวโน้มที่คนรอบข้างอาจจะโดนกลุ่มคนที่มีอาการเหล่านี้เหวี่ยงเอาก็เป็นได้
8. จุดโฟกัสบกพร่อง
lovethispic
คนที่มีความวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา อาจจะมีช่วงเวลาที่ยากที่จะจดจ่อสมาธิให้อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะสมองของพวกเขามีเรื่องวุ่นวายให้คิดเป็นร้อยล้านสิ่งอยู่ในหัว บางทีพวกเขาอาจจะพยายามจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำอยู่ แต่ใจมันกลับลอยไปที่อื่น
ยังไม่มีวิธีการรักษาที่รวดเร็วสำหรับอาการเหล่านี้ แต่หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังต่อสู้กับอาการเหล่านี้อยู่ สิ่งที่ควรทำคือ…
- นอนหลับให้เพียงพอ
- ไม่ดื่มคาเฟอีนเกินความจำเป็น
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และนิโคติน
- กินอาหารเพื่อสุขภาพ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ฝึกนั่งสมาธิ
- ฝึกการหายใจ
- สร้างตารางเวลาที่เหมาะสม
- ระบายมันออกมาบ้างเวลาที่รู้สึกแย่
- หลีกเลี่ยงการพบปะกับคนที่ทำให้คุณรู้สึกกังวล
ที่มา : davidwolfe
Don’t walk behind me; I may not lead. Don’t walk in front of me; I may not follow. Just walk beside me and be my friend.