Now Reading
ย้อนรำลึก 12 คำสอนของพ่อหลวง

ย้อนรำลึก 12 คำสอนของพ่อหลวง

มาร่วมกันย้อนรำลึกถึงพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่สอนในเรื่องของการใช้ชีวิตและการทำงานกันค่ะ

His-Majesty-King-Bhumiphol 1

thaihealth

ความพอเพียง

“ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง

อย่างนั้นมันมากเกินไป แต่ในหมู่บ้านหรือในอําเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร

บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้แต่ในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่

ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก มีเงินเดือนเท่าไหร่จะต้องใช้ภายในเงินเดือน

กู้เงินนั้น เงินจะต้องให้เกิดประโยชน์มิใช่กู้สําหรับ ไปเล่น ไปทําอะไรที่ไม่เกิดประโยชน์”

(พระราชดํารัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540)

การรู้จักใช้เงิน

“ถ้าเราสะสมเงินให้มาก เราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ยโดยไม่แตะต้องทุน

ถ้าเราใช้มากเกินไปหรือเราไม่ระวัง เรากินเข้าไปเป็นทุน ทุนมันก็น้อยลงๆ จนหมด”

(พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษา

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2518)

คนดี

“ในบ้านเมืองนี้มีทั้งคนดีและคนไม่ดีไม่มีใครที่จะทําให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด

การทําให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทําให้ทุกคนเป็นคนดี

หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดี ปกครองบ้านเมือง

และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอํานาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”

(พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมชนลูกเสือแห่งชาติค่ายลูกเสือวชิราวุธ

จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2521)

ความดี

“การทำดีนั้นทำยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ความชั่วซึ่งทำได้ง่าย

จะเข้ามาแทนที่และจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว แต่ละคนจึงต้องตั้งใจ

และเพียรพยายามให้สุดกำลัง ในการสร้างเสริมและสะสมความดี”

(พระบรมราโชวาทพระราชทาน แก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สวนอัมพร 14 สิงหาคม 2525)

คนเราจะต้องรับและจะต้องให้

“คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้

หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้

ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ

ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้

ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้”

(พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521)

การคิดก่อนพูด

“หลักของคุณธรรมคือ การคิดด้วยจิตใจที่เป็นกลาง ก่อนจะพูดจะทําสิ่งไร จําเป็นต้องหยุดคิดเสียก่อน

เพื่อรวบรวมสติให้ตั้งม่ัน และจิตสว่างแจ่มใส ซึ่งเมื่อฝึกหัดคุ้นเคยชํานาญแล้ว

จะกระทําได้คล่องแคล่ว ช่วยให้สามารถแสดงความรู้ความคิดในเรื่องต่างๆ

ให้ผู้ฟังได้เข้าใจได้ง่าย ได้ชัด ไม่ผิด ทั้งหลักวิชา ทั้งหลักคุณธรรม”

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2535)

ความสามัคคี

“สามัคคีนี้ก็คือการเห็นแก่บ้านเมือง และช่วยกันทุกวิถีทาง

เพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองให้ เข้มแข็ง ด้วยการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

และทํางานด้วยการซื่อสัตย์สุจริต ต้องส่งเสริมงานของกันและกัน

และไม่ทําลายงานของกันและกัน มีเรื่องอะไรให้ได้พูดปรองดองกัน

อย่าเรื่องใครเรื่องมัน และงานก็ทํางานอย่างตรงไปตรงมา

นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม”

(พระราชดํารัสที่พระราชทานในพิธีประดับยศนายตํารวจชั้นนายพล เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2519)

พูดจริง ทำจริง

“ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ

พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย

See Also
bowl cut hairstyle

การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด

และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม”

(พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540)

ความซื่อสัตย์

“ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง

เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง

เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง”

(พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปีพุทธศักราช 2531)

การทำงาน

“เมื่อมีโอกาสและมีงานทำ ควรเต็มใจทำโดยไม่จำเป็นต้องตั้งข้อแม้ หรือเงื่อนไขอันใด

ไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวาง คนที่ทำงานได้จริงๆนั้น ไม่ว่าจะจับงานสิ่งใด ย่อมทำได้เสมอ

ถ้ายิ่งมีความเอาใจใส่ มีความขยัน และ ความซื่อสัตย์สุจริต ก็ยิ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในงานที่ทำสูงขึ้น”

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา 8 กรกฎาคม 2530)

หนังสือเป็นออมสิน

“หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้

หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้”

(พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ

ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พฤศจิกายน 2514)

อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ

“ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ

ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม”

(พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 มิถุนายน 2496)

His-Majesty-King-Bhumiphol

simon-royle

จะเห็นได้ว่าทุกคำสอนล้วนเป็นสิ่งที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้ทั้งนั้นเลย มาเป็นคนดีดั่งที่พ่อสอนกันนะคะ

แนะนำ!!การแต่งตัวและสิ่งที่ต้องนำไปด้วย ให้เหมาะสมกับไปงานศพ

View Comments (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published.

CAPTCHA


Scroll To Top