Now Reading
9 วิธีเพิ่มฮอร์โมนเซโรโทนิน ช่วยลดอาการซึมเศร้า

9 วิธีเพิ่มฮอร์โมนเซโรโทนิน ช่วยลดอาการซึมเศร้า

ทุกคนรู้จักฮอร์โมนที่ชื่อ “เซโรโทนิน” กันไหมเอ่ย? มันคือสารสื่อประสาทที่ช่วยให้เรารู้สึกเบิกบาน ผ่อนคลาย และมีความมั่นใจในตัวเอง ว่ากันว่าการมีสารเซโรโทนินในระดับต่ำจะมีส่วนที่ทำให้เรารู้สึกซึมเศร้าและหวาดวิตกขึ้นมาได้ ฉะนั้นเราควรทำความรู้จักกับสารแห่งความสุขชนิดนี้เอาไว้ เพราะมันจะช่วยให้ชีวิตของเราดีขึ้นได้แน่นอน ไม่ว่าใครที่กำลังเครียดหรือทนทรมานกับอาการซึมเศร้าก็สามารถใช้วิธีเหล่านี้บำบัดควบคู่ไปกับการพบแพทย์เพื่อให้หายเร็วขึ้นได้!

1. รับแสงแดดในปริมาณที่เหมาะสม

หลายๆ งานวิจัยทั่วโลกยืนยันว่าการออกมารับแสงแดดในตอนเช้าจะทำให้อารมณ์แจ่มใส กระปรี้กระเปร่า เพราะแสงแดดมีส่วนในการรักษาโรคซึมเศร้า เนื่องจากสามารถกระตุ้นให้ร่างกายผลิตวิตามิน D รวมทั้งสารเซโรโทนิน แต่ระวังอย่ารับแดดที่แรงเกินไปจนผิวหนังเป็นอันตรายนะคะ

pinterest

2. ลดการบริโภคน้ำตาล

อาหารจำพวกน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวขาวและขนมปังขาว จะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้อินซูลินพุ่งสูงขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา เรียกได้ว่าเป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงเท่าที่ทำได้

pinterest

3. รับประทานอาหารที่มีวิตามิน B

อาหารที่มีวิตามินบี เช่น  ธัญพืช เนื้อสัตว์ ไข่ นม เป็นต้น อาหารเหล่านี้ช่วยลดอาการซึมเศร้าได้เพราะวิตามินบีจะช่วยสร้างเซโรโทนิน เพราะฉะนั้นหลีกเลี่ยงน้ำตาลแล้วมารับประทานปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นๆ ที่มีประโยชน์กันดีกว่า

pinterest

4. คิดบวก มองโลกในแง่ดี

ความเครียดจะทำให้เซโรโทนินลดลง เพราะฉะนั้นเรามาสกัดกั้นความเครียดโดยการเปลี่ยนความคิดกันดีกว่า อย่าพาตัวเองจมอยู่กับความหดหู่ แล้วพยายามรับรู้เฉพาะเรื่องดีๆ เรื่องที่ไม่ดีพยายามปล่อยมันไป หรือถ้าหลีกเลี่ยงสถานการณ์แย่ๆ ไม่ได้จริงๆ ก็ให้บอกตัวเองว่า “ช่างมัน”

pinterest

5. รับประทานอาหารที่มีโปรตีน

รู้ไหมว่าอาหารประเภทโปรตีนเนี่ยมีแต่ของอร่อยๆ ทั้งนั้นเลย ไม่ว่าจะเป็นเนื้อปลา ไข่ เนื้อ อะโวคาโด และโยเกิร์ต ฯลฯ กินแล้วทำให้เซโรโทนินเพิ่มขึ้น ช่วยให้อาการซึมเศร้าหายไป เพราะอาหารประเภทโปรตีนจะเยียวยาทุกอย่างเอง

pinterest

6. รับประทานถั่ว

ถั่วมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ส่งผลต่อการทำงานของเซโรโทนินในสมอง ผู้ที่มีระดับเซโรโทนินต่ำโดยทั่วไปแล้วจะมีระดับ DHA ต่ำเช่นกัน ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทานอาหารประเภทถั่ว เพราะนอกจากจะทำให้เซโรโทนินเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีแคลอรี่ต่ำ ไม่ทำให้อ้วนอีกด้วย

See Also

pinterest

7. นวดผ่อนคลาย

งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า การนวดบำบัดสามารถช่วยลดระดับคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนเครียด และช่วยเพิ่มระดับเซโรโทนินและโดพามีนซึ่งเป็นอีกหนึ่งฮอร์โมนที่ช่วยให้เรากระปรี้กระเปร่าและมีสมาธิมากขึ้น เรียกได้ว่ามีประโยชน์สองต่อเลยทีเดียว

pinterest

8. ออกกำลังกายสนุกๆ

การออกกำลังกายก็ช่วยให้เซโรโทนินเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เราสามารถเลือกวิธีออกกำลังกายที่ตนเองชอบได้เลย แต่อย่าออกหักโหม เพราะการออกกำลังกายในระดับที่แต่ละคนทำแล้วรู้สึกดีจะทำให้มีการหลั่งเซโรโทนินอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่การออกกำลังกายที่หนักหน่วงเกินไปจนทนไม่ไหว

pinterest

9. ฝึกสมาธิ สร้างความสงบให้ใจ

การฝึกสมาธิคือการสังเกตลมหายใจของตนเอง ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน ซึ่งวิธีง่ายๆ นี้แหละที่นักวิจัยยอมรับกันทั่วโลกว่าช่วยสร้างเซโรโทนินได้เป็นอย่างดี เนื่องจากหากฝึกสมาธิได้ดีในระดับหนึ่งแล้ว คุณจะสามารถตัดความคิดลบๆ ออกไปและสร้างความสงบสุขในใจขึ้นเองได้

pinterest

เราไม่ได้บังคับว่าต้องทำตามนี้ทุกอย่าง แต่อยากให้ทุกคนเลือกเฉพาะกิจกรรมที่เหมาะสมกับตัวเอง อย่างไรก็ตามเราเป็นกำลังใจให้ทุกๆ คนมีสุขภาพจิตดีขึ้นกันนะคะ

ที่มา: sanook, wikihow
View Comments (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published.

CAPTCHA


Scroll To Top