Now Reading
ทริคการจดสมุด schedule แบบดูง่ายเข้าใจไม่ยาก

ทริคการจดสมุด schedule แบบดูง่ายเข้าใจไม่ยาก

เวลาขึ้นปีใหม่ สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องเริ่มหาซื้อใหม่ทุกครั้งก็คือ…สมุด schedule จดตารางเวลา แถมตอนเลือกนี่ต้องเดินหาแบบที่ชอบนานมาก เพราะต้องอยู่กับมันไปอีกหนึ่งปีเต็มเลยทีเดียว แต่พอครบปีมาเปิดดูคือ…สมุดจดเยินมาก ที่เยินไม่ใช่ตัวสมุดหรืออะไร รายละเอียดข้างในนั่นแหละที่ถูกจดมั่วซั่วเละเทะไปหมด เขียนไม่พอก็ลากเส้นย้วยไปจดที่นู่นที่นี่ เรียกได้ว่าทักษะการจัดเรียงเป็นศูนย์

ใครมีปัญหาแบบเดียวกัน มาอ่านบทความวันนี้กันเถอะ จะได้จดสมุด schedule กันได้สวยๆ อ่านง่าย และมีประสิทธิภาพ

เริ่มต้นจากการใช้สีปากกา!! 

กำหนดการใช้สีกับเหตุการณ์ในเรื่องต่างๆ เช่น….

Stationery-hearts-candy-color-colorful-neon-font-b-pen-b-font-crystallise-font-b-pen-b

aliexpress

ดำ  –  ใช้กับเรื่องสำคัญ เช่นเรื่องงาน เรื่องเร่งด่วน นัดธุระที่ต้องไปดำเนินการ
น้ำเงิน   –  กำหนดการตารางพัฒนาตัวเอง เช่น ตารางอ่านหนังสือ เรียน ออกกำลังกาย
แดง   –  เรื่องเที่ยว เดท พักผ่อนส่วนตัว
เขียว  –  โน้ตไอเดีย
ส้ม  –  เรื่องใหม่ๆ ที่อยากลองทำ อย่างเรื่องที่อยากท้าทายตัวเอง หรือ ความฝันที่อยากทำให้เป็นจริง เป็นต้น

หรือจะเน้นความเรียบง่าย ไม่ยุ่งยากด้วยสองสีคลาสสิค น้ำเงิน & แดง โดยใช้สีน้ำเงินเป็นหลัก เน้นจุดสำคัญด้วยสีแดง ก็จะทำให้สมุดของคุณดูสดใสและเข้าใจได้ง่ายเช่นกัน

หรือจะใช้ ปากกาสีดำ + โพสต์อิทหลากสี ….

2
– ใช้สีของโพสต์อิทแบ่งประเภทของอีเว้นท์
– แก้ไขเปลี่ยนแปลงวันเวลาได้สะดวก เพียงเปลี่ยนที่แปะ
– เรื่องสำคัญที่ต้องทำก็เขียนบทโพสต์อิทให้ดูเด่น
– ใช้เป็นสารบัญได้ด้วย

เพิ่มลูกเล่นอีกนิดด้วย….ปากกาสีดำ + โพสต์อิทหลากสี + ไฮไลท์สีสัน

3

– จดด้วยปากกาสีดำทั้งเรื่องงาน และ เรื่องส่วนตัว แล้วใช้สีของไฮไลท์แยกประเภท
– ส่วนโพสต์อิท ใช้จดเกี่ยวกับรายรับรายจ่าย ทำให้จัดการการเงินได้ดี (ใครยืมอะไรไป ไม่มีหลุด)

แถมท้ายด้วย…4 Tips เลือกใช้ให้เหมาะกับสไตล์ตัวเอง

1. เรื่องที่ต้องทำให้ใช้โพสต์อิทแปะแยกเลย

4

– ถ้าจดเรื่องที่ต้องทำตรงนู้นนิดตรงนี้หน่อย หรือจดรวมๆ จะทำให้สมุดของเราดูไม่สวย ไม่สะอาด แถมยังอ่านยากอีกต่างหาก
– ถ้าไปจดแยกหน้าอื่น อาจลืมหลุดได้ ไม่ปลอดภัยเป็นอย่างยิ่ง
– ใช้โพสต์อิทเปลี่ยนที่ติดได้สะดวก ทำเสร็จก็ดึงออก ทำไม่เสร็จเดือนนี้ก็ย้ายไปแปะเดือนหน้าได้
– แบ่งการใช้สีตามความสำคัญ

2. เชื่อมไปหน้าว่างท้ายเล่ม

5

วันไหนข้อมูลแน่น หรือต้องการเพิ่มเติมรายละเอียดยาวๆ ก็ให้ทำสัญลักษณ์สำหรับเปิดไปหน้าว่างที่มักมีให้ในท้ายเล่ม

See Also

3. ใช้ตัวย่อ หรือสัญลักษณ์  

6

กำหนดคำย่อของเหตุการณ์ต่างๆ ที่ใช้บ่อย เช่น…

  • MTG คือ Meeting ประชุม
  • DL คือ Dead line เส้นตาย
  • ♥  คือ เดท

4. จดเป้าหมายในอนาคต

7

เขียนเป้าหมายในอนาคตแล้วแบ่งตามวัย ตามหัวข้อ เมื่อชีวิตมีเป้าหมายที่ชัดเจน การใช้ชีวิตในแต่ละวันก็จะดูมีคุณค่ามากกว่าเดิม

ลองเลือกเอาวิธีที่ชอบและเข้ากับตัวเองไปประยุกต์ใช้กันดูนะคะ  😉

 ที่มา: marumura 

View Comments (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published.

CAPTCHA


Scroll To Top